ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

เขียนไว้บ่อย เขียนไว้หลายที่ ในไทยวินเทจ ในเว็บพี่กี้ 501fanclub ลองอ่านดูนะครับ (ข้อความทั้งหมด เป็นงานเขียนของผมเอง แต่รูปภาพประกอบ ยืมมาจากอีเบย์)

วินเทจ ที-เชิ้ต อย่าคิดว่าแค่ เสื้อยืด ของมือสอง ของเก่าใช้แล้ว แต่ถ้าท่านเคยเข้าไปดูใน อีเบย์ เวบประมูลของต่างประเทศ และ ลองพิมพ์ คำว่า ‘ vintage t shirt’ จะพบว่าเสื้อยืดเก่าๆ พวกนี้ มีราคาสูง และ ในบางตัวมีราคาสูงจนน่าตกใจ และ มีการบิดสู้กันจากหลายๆคน โดยเฉพาะในกลุ่มเสื้อทัวร์ รุ่นเก่าๆ เพราะความคลั่งไคล้ของคนที่มีความนิยมชมชอบในสิ่งเดียวกัน

ในเมืองไทยเสื้อยืดผ้าบาง สามารถหาซื้อได้ตาม JJ ตลาดโรงเกลือ ตลาดนัด งานวัด ตลาดเปิดท้าย ส่วนราคาจะถูก หรือ แพง อยู่ที่การต่อรองของเรา และ อยู่ที่การโก่งราคาของพ่อค้า ตั้งแต่ 100 บาท ไปจนถึงหลักพัน



คำแนะนำเพื่อนๆการจับ เสื้อยืดผ้าบางของอเมริกา

1.ป้ายคอต้องว่า MADE IN USA เท่านั้นไม่ใช่วัสดุอเมริกาแต่เย็บที่อื่น

2.เนื้อผ้าต้องบางมาก ๆ ในผ้า100 % รุ่นเก่าๆจะบางกว่าในปัจุบัน

นักสะสมเสื้อยืดจะได้ข้อยุติของตนว่าเสื้อ ผ้าผสม 50/50 เนื้อผ้าจะบางมาก และ สีของเสื้อจะสีสดกว่า ผ้าค้อตต้อน 100% เพราะสีไม่ค่อยตก บางตัวส่องใส่แสงแดด จะซีทรู 555 นุ่ม (thin and soft) สกรีน ต้องสวย เท่ กวน teen

3.ในป้ายคอที่บอกยี่ห้อ จะบอกส่วนผสมของเส้นใยของเสื้อตัวนั้นๆ ด้วยครับ เรียงตามลำดับ ส่วนผสม ค้อตต้อน/ โพลีเอสเตอร์ /เรยอง (cotton/ polyester /rayon)เช่น

100% 50/50 75/25 50/43/12 48/43/15

50/38/12 50/35/15

4.ส่วนใหญ่จะไม่มีตะเข็บด้านข้าง เพราะเป็นเสื้อที่ทอขึ้นมาเป็นตัว ตามขนาดไซด์ S, M, L, XL แล้วมาเย็บผ้าที่เป็นส่วนแขนติดในภายหลัง 

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

 (part4)



ป้ายยี่ห้อ Vintage Champion




ป้ายยี่ห้อ Vintage Hanes 



ป้ายยี่ห้อ Vintage Southern-Russell



อันนี้เป็นป้าย Wrangler Jacket ครับ





อายุอานามป้ายยี่ห้อเสื้อในรูปที่ผมเอามาเล่าสู่กันฟังนี้ ยังไม่ใช่ข้อยุตินะครับ ว่าเสื้อที่ติดป้ายเหล่านี้จะอยู่ในยุคนั้นๆจริง กรุณาตรวจสอบป้ายเหล่านี้จากหลายๆแหล่งข้อมูล เพื่อความแม่นยำมากขึ้น หากข้อมูลที่ผมนำเสนอผิดพลาดยังไง กรุณาทักท้วงพร้อมหลักฐานข้อมูล เพื่อทำการแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นนะครับ 
ผมมีความต้องการให้กระทู้นี้แค่ เป็นตัวจุดประกายให้คนสนใจป้ายยี่ห้อเหล่านี้ให้มากขึ้น มากกว่าจะเป็นการตัดสินคุณค่าเสื้อจากป้ายยี่ห้อต่างๆ เพราะยังมียี่ห้อเสื้อผ้าวินเทจอีกเยอะมากมายที่ไม่ได้อยู่ในรูปที่ผมนำเสนอ
อีกอย่างใครอยากจะก็อปรูปจากเว็บ นี้ไป ไม่ว่าจากเสื้อที่ผมขายหรือที่ผมไปก็อปรูปเขามาอีกที ก็ตามสบายเลยนะครับ ผมไม่หวงเรื่องเครดิต copyleft not copyright ครับงานนี้ ใครอยากให้เครดิตเว็บผมก็ให้ ใครจะอยากก็อปไปเฉยๆไม่ให้เครดิตก็ไม่เป็นไร ความรู้ต้องการการแบ่งปันครับถึงจะทำให้ความรู้งอกงาม ผมขออย่างเดียวอย่าเอารูปจากเว็บนี้โดยเฉพาะรูปเสื้อผ้าภายในร้าน ไปก็อปขายในเว็บอื่นแล้วกลับมาซื้อผมอีกทีก็แล้วกัน อย่างนั้นมันหากินง่ายไป ขอบคุณครับ

cr. http://vintagestudy.blogspot.com


 (part3)

JC Penney, Sear Roeubuck, Mongomery
Ward
Hercules, Sears, Pay Day,
Big Mac, Powr House, Pointer etc




cr. http://vintagestudy.blogspot.com

 (part2)

JC Penney, Sear Roeubuck, Mongomery WardHercules, Sears, Pay Day, Big Mac, Powr House, Pointer etc.




JC Penney, Sear Roeubuck, Mongomery
Ward
Hercules, Sears, Pay Day,
Big Mac, Powr House, Pointer etc.






cr. http://vintagestudy.blogspot.com/

 (part1)

เริ่มต้นด้วยป้ายยี่ห้อเสื้อยืดนะครับ




ต่อไป กลุ่ม Work Wear ครับ vintage LEE tag






cr.http://vintagestudy.blogspot.com

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

เจาะลึก เสื้อยืดวินเทจ จิ๊กโก๋ต้องอ่าน ! (Part2)

ยุค 80’S

แบรนด์ยอดนิยมต่างๆ เรียกได้ว่า เริ่มกันที่ยุคนี้ก็ว่าได้ครับ หลายแบรนด์แจ้งเกิดกันในช่วงยุค 80’s  เช่น Screen Star , Hanes, Sportware, Champion เป็นต้น ในยุคนี้หลายแบรนด์แข่งขันผลิตเสื้อโดยมุ่งเน้นที่สีของเสื้อ และรูปแบบของเสื้อ เช่น เป็นลายกลมๆ และเกาะต่างๆ เช่น เกาะฮาวาย เป็นต้น




บางยี่ห้อมีการผลิตในประเทศปากีสถาน และมีหลายยี่ห้อเริ่มจะเลียนแบบแบรนด์ Champion ที่เน้นขายแนว Sport  เช่น ป้าย Logo7, Artex


ยุค 90’S


ยุคนี้เป็นยุคเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ หลายแบรนด์ใหม่ๆ ก็เข้ามาและหลายแบรนด์ยุคก่อนๆ ก็เริ่มหายไป บางบริษัทรวมตัวกัน อย่างเช่น Screen Star รวมตัวกับหลายๆแบรนด์กลายเป็น แบรนด์ยักษ์ใหญ่ตราบจนทุกวันนี้ นั้นคือแบรนด์ Fruit of the Loom นั้นเอง  ส่วนเสื้อยืดแนวเพลงต่างๆ เช่นเสื้อยืดวงดนตรี เสื้อทัวร์คอนเสิร์ต ยุค 90’s นี้เป็นยุคเฟื้องฟูของเสื้อยืดแนวดนดรีและสินค้าที่เกี่ยวกับคอนเสิร์ตเลยก็ว่าได้ และกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ภายใต้ลิขสิทธิ Brockum, Giant, Gem เป็นต้น แบรนด์เหล่านี้ แท้ที่จริงแล้วไม่ได้เป็นคนผลิตเสื้อยืดขึ้นมา กลับกลายเป็นโรงงานจาก FOTL (Fruit of the Loom) และ Hanes  ที่เป็นผู้ผลิต




สุดท้ายนี้ อาจจะมีหลายๆ แบรนด์หรือป้ายลักษณะต่างๆ ที่ ผม ไม่ได้กลาวถึง เช่นเสื้อป้าย Sun Sun Sun เป็นต้น ไม่ได้หมายถึงเสื้อพวกนั้นไม่ใช่เสื้อยืดวินเทจนะครับเพียงแค่เสื้อยืดมันมีมากมายหลายยี่ห้อเหลือเกิน หลายแบรนด์ก็ไม่มีข้อมูลเชิงลึกแค่เคยผ่านมือมาบ้าง ที่สำคัญ ผมเองก็ความรู้เรื่องเสื้อยืดวินเทจระดับนึง (น้อยถึงน้อยที่สุด 5555)











เจาะลึก เสื้อยืดวินเทจ จิ๊กโก๋ต้องอ่าน ! (PaRt1)

วันนี้ ผม จะนำเสนอบทความเกี่ยวกับเสื้อยืดวินเทจมือสอง ผมเองได้ไปพบเจอบทความดีๆ จากเว็บเมืองนอกซึ่งให้ข้อมูลเป็นความรู้ได้ดีเลยสำหรับพี่ๆ ที่ชอบสะสม สวมใส่ เสื้อยืดมือสองรุ่นเก่า ผ้าบาง ผ้า50/50  ถ้าผิดพลาดประการใด พี่ๆ ก็ คอมเม้นมากันได้นะครับ จะได้แลกเปลี่ยนทัศนะ + ความรู้ ให้กับพี่ๆ ท่านอื่นๆ
เสื้อยืดวินเทจรุ่นเก่าที่ผมจะกล่าวถึงนั้น จะแบ่งเป็นยุคสมัยตามทศวรรษ เริ่มจากยุค 70’s  >>> 80’s  >>> 90’s

เสื้อยืดวินเทจ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนิยมผลิตเป็นผ้าฝ้าย 100% ( 100% cotton) จิ๊กโก๋ยุคนั้น ผมว่า (เกิดไม่ทัน) คงชอบสวมใส่ผ้าผสมกันนะครับ อิอิ อากาศมันคงร้อน ผ้าเนื้อผสมน่าจะตอบโจทย์ได้ดีเพราะใส่สบาย ใส่แล้วเย็น ผ้าไม่หนามาก เสื้อยืดวินเทจจะมี เนื้อผ้าผสม 2 เนื้อ คือ ผ้าผสมระหว่างผ้าฝ้าย 50% + ผ้าโพลีเอสเตอร์50% (50% cotton – 50% Polyester) หรือเนื้อผ้าผสมแบบ 3 เนื้อ คือ ผ้าผสมระหว่างผ้าฝ้าย-ผ้าโพลีเอสเตอร์-ผ้าเรยอน (Cotton+Polyester+Rayon) แบ่งตามสัดส่วนแล้วแต่โรงงานจะผลิต สุดท้ายก็มีเสื้อยืดที่ผลิตจากผ้า cotton 100% ครับ

** แต่ก็มีเสื้อยืดบางประเภทที่ผสมเนื้อผ้าชนิดอื่นๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน เช่น เสื้อยืดทหาร ก็จะผสมเนื้อผ้าระหว่าง Nylon/Cotton เป็นต้นครับ **
อีกปัจจัยนึงที่สำคัญที่เสื้อยืดสมัยก่อนนั้นผลิตออกมา(เกือบ)ทุกตัวจะมีตะเข็บด้ายที่เย็บ สอยตะเข็บเป็นเส้นด้ายเดี่ยวทั้งชายเสื้อด้านล่างหรือชายตรงปลายแขนทั้ง 2 ข้าง ส่วนตัวของ ผม เองคิดว่ามาจากความสามารถหรือเทคโนโลยีของเครื่องจักรสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยพอที่จะเย็บให้ตะเข็บเป็นเส้นคู่ (ในครั้งเดียว)ได้ แต่สมัยยุค 90’s เครื่องจักรหรือจักรเย็บผ้า สามารถเย็บตะเข็บเป็นด้ายคู่ถัก เพื่อเพิ่มความแข็งแรง แน่นหนา ที่ไม่ทำให้ชายเสื้อลุ่ยได้ง่ายครับ

ยุค 70’S

  1. ยุคนี้ จุดสังเกตแรกที่เด่นชัดที่สุดคือ ป้ายที่คอเสื้อจะไม่มียี่ห้อครับ ป้ายที่คอจะบอกเฉพาะคุณสมบัติของเนื้อผ้า + ผลิตจากประเทศไหน + ขนาด  ผม ว่ายุคนั้น สมัยนั้น คงยังไม่มีนายทุนมั๊ง 5555 แต่ในบทความเค้าบอกมาว่ายุคปลายๆ ของปี 70’s นั้นก็เริ่มจะมี ป้ายคอที่แสดงยี่ห้อหรือโรงงานที่ผลิตเสื้อออกมาบ้างเหมือนกันครับ ส่วนใหญ่ถ้าเราไปพบเจอ สภาพป้ายก็จะลุ่ยจนมองไม่เห็นรายละเอียดแล้วละครับ (ก็ผ่านมากี่ปีแล้วละ เหอๆ)
cr. http://www.somjook.com